วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้ ฝึกวิธีคิดการพัฒนาตนเองและสามารถปรับตัวอยู่ร่วมบริบทสังคม เศรษฐกิจ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
- เพื่อให้เกษตรกรมีศักยภาพในการรวมกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม
เป้าหมาย
- จุดดำเนินการ จำนวน 9,101 ชุมชน (ตามประกาศกรมส่งเสริมการเกษตร)
- เกษตรกรชุมชนละ 200 ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,820,200 ราย
คุณสมบัติของเกษตรกร
- เกษตรกร และ/หรือสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เป็นเกษตรกรที่มีความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ และต้องสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการฝึกอบรมเกษตรกร
- การฝึกอบรมเกษตรกรต้องดำเนินการให้ครบตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนด
- จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถตรงกับเนื้อหาวิชา และพิจารณาวิทยากรในพื้นที่เป็นลำดับแรก
รายละเอียดหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อย
กลุ่มวิชาที่ 1 สร้างการรับรู้ ความเข้าใจร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้ฐานวิธีคิด หลักการสำคัญ วิธีคิดในการประกอบอาชีพการเกษตร อย่างมีความสุขและพอเพียงในการดำรงชีวิต จำนวน 2 วิชา ประกอบด้วย
กลุ่มวิชาที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้วิธีการปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิต การลดต้นทุน การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เพื่อเพิ่มรายได้อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 วิชา ประกอบด้วย
- วิชาการบริหารจัดการการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่ (Zoning) (วิชาบังคับ)
- วิชาบัญชีครัวเรือน/บัญชีต้นทุนอาชีพ (วิชาบังคับ)
- วิชาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (พืช สัตว์ ประมง) (วิชาบังคับ)
- วิชาการพัฒนาด้านการเกษตร (วิชาเลือก) เลือกเรียน จำนวน 1 วิชา
- วิชาการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (วิชาเลือก) เลือกเรียน จำนวน 3 วิชา
กลุ่มวิชาที่ 3 การบริหารจัดการองค์กรเกษตรกร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้ หลักการ แนวคิด การบริหารจัดการกลุ่ม การจัดทำแผนการผลิต/โครงการ และการตลาดเบื้องต้นของเกษตรกร ตลอดจนทิศทางของตลาดสินค้าเกษตร จำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย